Author: webmaster

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา นายประพันธ์ ศรีนวล รองผู้ว่าการวิศวกรรม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับนายอัครฤทธิ์ วิริยาจาร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายพัฒนาธุรกิจ บริษัท อาร์ เอส เอส 2016 จำกัด (มหาชน) ลงนามในสัญญาจ้างงานโครงการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า วังวิเศษ จ.ตรัง ณ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ...

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำขนาด 58.5 เมกะวัตต์ พร้อมเซลล์แสงอาทิตย์และโซลูชันแบบลอยตัวของ Sungrow (PRNewsfoto/Sungrow Power Supply Co., Ltd.)           Sungrow ผู้ผลิตระบบพลังงานหมุนเวียนระดับโลก ดำเนินการจัดหาอินเวอร์เตอร์ (PV Inverter) และทุ่นลอยตัว (Floating PV) ให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่จะช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ           โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำดังกล่าวมีขนาดพื้นที่ 450 ไร่ ตั้งอยู่บนผิวน้ำของเขื่อนในจังหวัดอุบลราชธานี และได้ดำเนินการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้าขนาด 58.5 เมกะวัตต์ เมื่อเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา           Sungrow เลือกใช้อินเวอร์เตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเหมาะสมกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ มีต้นทุนค่าขนส่ง และต้นทุนงานติดตั้งที่เหมาะสม มีการจัดการ ตรวจติดตามแบบบูรณาการ เพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ ระบบ PV แบบทุ่นลอยน้ำของ Sungrow เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานระดับสูงและเป็นไปตามมาตรฐานระดับสากล ไม่มีสิ่งปนเปื้อน และไม่สร้างมลพิษทางน้ำ มีผลกระทบต่อพืชและสัตว์ในอ่างเก็บน้ำน้อยมาก เนื่องจากแพลตฟอร์มการก่อสร้างมีขนาดเล็กและสามารถถอนการติดตั้งออกได้           สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำอื่น ๆ...

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 นายพสุธา คันสร รองผู้ว่าการก่อสร้างและบริหารโครงการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับนายทรงชัย ตาตุ ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท อาร์ เอส เอส 2016 จำกัด (มหาชน) ลงนามในสัญญางานจ้างติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าระบบ 115-33 เควี พร้อมสวิตซ์เกียร์ระบบ 115 เควี (เพิ่มเติม) สถานีไฟฟ้าคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ณ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ...

ลุ้นสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนหน่วยที่ 8-9 เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงสุดท้ายของ กฟผ. โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ตั้งคณะกรรมการรับฟังความเห็น ก่อนสรุปเสนอ ครม.พิจารณาในเดือน ธ.ค. 2564 นี้ ซึ่งหากได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างแม่เมาะจะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์เพียง 2 ยูนิตกำลังการผลิต รวม 1,315 เมกกะวัตต์ จากที่ผ่านมาเคยมีอยู่รวมกว่า 3,000 เมกะวัตต์ ซึ่ง กฟผ. เล็งนำโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดมาช่วยเสริมความมั่นคงไฟฟ้าของภาคเหนือแทน           ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News Center-ENC ) รายงานว่า นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ลงนามประกาศแต่งตั้ง “คณะกรรมการรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)” ซึ่งมีกรรมการทั้งสิ้น 5 คนและฝ่ายเลขานุการอีก 3 คน...

จีนเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าของโลก ความที่ผลิตสินค้าในปริมาณมาก ทำให้สินค้าจีนราคาถูก ผู้คนเกือบทั้งโลกจึงหันมาใช้สินค้าที่ผลิตจากจีน           โรงงานต้องใช้พลังงานไฟฟ้า โรงงานไฟฟ้าในจีนส่วนใหญ่ใช้ถ่านหิน จีนพึ่งพาการใช้ถ่านหินสูงถึงร้อยละ 70 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ทว่ารัฐบาลจีนในปัจจุบันสนใจเกี่ยวกับเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและหันไปหาพลังงานสะอาดอื่นมาทดแทนถ่านหิน ถ่านหินกับพลังงานสะอาดนี่เป็นเรื่องที่ขัดแย้งกันอย่างมากครับ           รัฐบาลจีนควบคุมค่าไฟฟ้า แต่การผลิตถ่านหินของจีนใน พ.ศ.2564 เติบโตเพียงร้อยละ 4.4 ขณะที่โลกต้องการสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น จีนต้องการไฟฟ้าสูงเพิ่มถึงร้อยละ 11.3 เมื่อมีความต้องการมากก็ทำให้ราคาถ่านหินพุ่งสูงขึ้น ทว่าราคาไฟฟ้ากลับเท่าเดิม โรงงานผลิตไฟฟ้าจึงเลี่ยงการขาดทุนด้วยการลดการผลิต           เดิมจีนใช้ถ่านหินจากออสเตรเลีย ต่อมาจีนกับออสเตรเลียมีปัญหากระทบกระทั่งกัน ทำให้รัฐบาลจีนสั่งสอนออสเตรเลียด้วยการลดการนำเข้าถ่านหิน ทว่า การสั่งสอนนั้นกลับมีผลกระทบในทางลบกับจีนเอง คือจีนมีถ่านหินไม่พอใช้ รัฐบาลจีนพยายามแก้ปัญหาด้วยการนำเข้าถ่านหินจากอินโดนีเซีย แต่ก็มีปริมาณไม่เพียงพอ           อีกประเทศหนึ่งซึ่งจีนนำเข้าถ่านหินเป็นจำนวนมากคือกินี สาธารณรัฐที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา กินีมีพรมแดนติดกับกินีบิสเซา เซเนกัล มาลี โกตดิวัวร์ ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน แต่หลังจากที่พันเอกมัมมาดี ดูมบูยา ผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการรบพิเศษของกินีทำการปฏิวัติเมื่อต้นเดือนกันยายน 2564 ก็กระทบกับถ่านหินที่จีนจะนำเข้าอย่างรุนแรง           รัฐบาลจีนได้สั่งให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งลดการใช้ไฟฟ้าด้วยการลดการผลิตเหลือแค่สัปดาห์ละ 2-4 วัน...

“พลังงาน” พร้อมใช้กองทุนน้ำมันตรึงราคาดีเซลหากขยับเกิน 30 บาทต่อลิตร เผยแนวโน้มสถานการณ์การใช้และราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่กลุ่มโอเปกควบคุมปริมาณการผลิต           นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ สถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลกยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจทั่วโลกที่เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงการเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวของซีกโลกตะวันตก รวมทั้งยังมีผลกระทบต่อเนื่องจากพายุในสหรัฐอเมริกา ทำให้การผลิตน้ำมันต้องหยุดชะงัก นอกจากนั้น กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันส่งออก (กลุ่ม OPEC) ได้มีการควบคุมการผลิตน้ำมันดิบ ส่งผลให้ทั่วโลกเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น           ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมมาตรการรับมือเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและไม่ให้กระทบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเตรียมใช้มาตรการช่วยเหลือจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพของระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศไม่ให้มีความผันผวนมากจนเกินไป ซึ่งหากเกิดกรณีที่ราคาน้ำมันดีเซลพื้นฐาน (B10) ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่า 30 บาท/ลิตร ก็จะเข้าไปดูแลราคา ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันดีเซล (B10) อยู่ที่ 28.29 บาท/ลิตร           “กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์ของราคาน้ำมันและราคาแอลพีจีในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด และขอยืนยันว่า กระทรวงพลังงานเตรียมพร้อมใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าอุดหนุนทันที หากราคาน้ำมันดีเซล (B10)...

Spot LNG ราคาทะยานแตะ 16.6 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู สูงกว่าปี 2563 ที่อยู่ประมาณ 7-9 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู สนพ.ห่วงปี 2565 ต้องนำเข้า LNG มากขึ้นเพื่อทดแทนก๊าซจากแหล่งเอราวัณที่ผลิตไม่ต่อเนื่องหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน จะกระทบต้นทุนค่าไฟฟ้าค่อนข้างมาก           นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึง สถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) แบบตลาดจร (Spot) ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากถึงระดับ 16.6 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ซึ่งสูงกว่าปี 2563 ที่อยู่ระดับ 7-9 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ขณะที่ราคาก๊าซฯ Pool เฉลี่ยอยู่ประมาณ 7 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ดังนั้นหากภาครัฐต้องนำเข้า LNG เพื่อมาทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย กรณีการผลิต ก๊าซฯในแหล่งเอราวัณไม่ต่อเนื่องในช่วงรอยต่อหลังหมดอายุสัญญาสัมปทานเดือน เม.ย. 2565 ก็จะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าประชาชนได้ อย่างไรก็ตาม...

กบง. สั่งทบทวนแผน PDP2018 rev.1 ช่วงปีพ.ศ. 2564 – 2573เพิ่มไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนบวกระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน และการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว เข้าระบบมากขึ้น พร้อมตรึงราคา LPG ครัวเรือน ต่ออีก 3 เดือน ถึง 31 ธ.ค. 64      นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธาน กบง. เปิดเผยว่า หลังจากเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบกรอบแผนพลังงานชาติ โดยมอบหมายให้ กบง. บริหารจัดการและพิจารณาทบทวนปรับปรุงแผนการเพิ่มการผลิตตามหลักการการบริหารจัดการและพิจารณาทบทวนปรับปรุงแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1...

อัตราการส่งเสริมค่าไฟฟ้าในระบบFeed in Tariff หรือ FiT ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ เป็นเผือกร้อนที่เอกชนกดดันให้กระทรวงพลังงานเร่ง​นำเสนอแนวทางและหลักเกณฑ์ในการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชน ปริมาณรับซื้อ 400 เมกะวัตต์ภายในปี 2564 ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ฉบับ ล่าสุด หรือ AEDP 2018 ต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)​ และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)​ที่มีนายกรัฐมนตรี​เป็นประธาน ให้ความเห็นชอบ และให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)​เป็นผู้ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้า เพื่อเริ่มต้นโครงการได้             ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News Center -​ENC )​ รายงานว่า ความคืบหน้าล่าสุดของการพิจารณากำหนด FiT อยู่ในขั้นตอนที่ทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)​จะนัดหารือ กับผู้แทนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)​และกรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบข้อมูลร่วมกันในเร็วๆนี้             FiTคือหัวใจสำคัญของโรงไฟฟ้าขยะ ที่ สนพ.และ พพ. ช่วยกันกำหนดอัตราที่เหมาะสม            ...

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดเปิดซองราคาประมูล “โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) ปริมาณรับซื้อ 150 เมกะวัตต์”ในวันที่ 20 กันยายน 2564 นี้ และจะประกาศรายชื่อผู้ที่ชนะประมูลและได้สิทธิ์​เข้าร่วมขายไฟฟ้าในโครงการวันที่ 23 กันยายน 2564 โดยมีโครงการที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติและข้อเสนอทางเทคนิครวมทั้งสิ้น 169 ราย (มาจากผู้ผ่านข้อเสนอทางเทคนิค รอบปกติ 95 ราย และอีก 74 รายมาจากการยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณากับทาง กกพ.)​         ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News​ Center-ENC )​ รายงานว่า เกณฑ์ในการพิจารณาราคาซึ่งจะใช้วิธีการประมูลแข่งขันกันนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานราคาเพดานตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2563 ที่กำหนดราคาเพดานรับซื้อไฟฟ้าไว้ แบ่งเป็น 1. ชีวมวล กำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน...