Author: webmaster

(23 มีนาคม 2565) "โฆษกรัฐบาล" แจง 10 มาตรการลดค่าครองชีพ คาดมีประชาชนได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 40 ล้านคน  ใช้วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท "สุพัฒนพงษ์" นำทีมเศรษฐกิจแถลงแพ็กเกจช่วยผู้มีรายได้น้อยฝ่าวิกฤตน้ำมันแพง      เมื่อวันที่ 23 มีนาคม นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบความลำบากของประชาชนที่เกิดขึ้น จากสถานการณ์ความผันผวนของราคาพลังงาน จากความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่งสินค้าและบริการต่างๆ ทำให้ค่าครองชีพมีการปรับตัวสูงขึ้น จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเร่งด่วนบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมัน เพิ่มเติมจากนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลได้ออกไปแล้วและยังใช้อยู่ โดยมีประชาชนที่ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 40 ล้านคน ใช้วงเงินไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ดังนี้​      1.ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 300 หน่วย จำนวน 20 ล้านหลังคาเรือน ได้รับส่วนลดค่า...

16 มีนาคม 2565 – นายชาญศักดิ์  ชื่นชม  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา) นายสุรชัย  เหล่าพูลสุข  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ขวา) ดร.นพ. ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (ที่ 2 จากซ้าย)และ นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (ซ้าย) ร่วมพิธีลงนามสัญญาเช่าที่ดิน ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับดำเนินการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายแห่งอนาคต (Future mobility) ผ่านการจัดทำสนามทดสอบสมรรถนะการขับขี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (Connected and Autonomous Vehicle:...

ปตท.จับมือ GPSC ตั้ง NUOVO PLUS ลุยธุรกิจแบตเตอรี่และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Battery Value Chain) และเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อรองรับโอกาสการเจริญเติบโตของธุรกิจแบตเตอรี่และยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต           นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT มีหนังสือแจ้งถึงตลาดหลักทรัพย์​แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2565 ถึงมติคณะกรรมการบริษัท นูออโว พลัส จำกัด (NUOVO PLUS) (บริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้นทางอ้อม 51% และบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ถือหุ้น 49%) ในการประชุมครั้งที่...

วันที่ 3 มีนาคม 2565 นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่าในปี 2565 นี้ เอ็กโก กรุ๊ป ได้เตรียมงบประมาณลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาท เพื่อขยายการลงทุนรวมถึงแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ โดยแบ่งเป็นลงทุนในโครงการเดิม 8,000 ล้านบาท และขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่           ธุรกิจเชื้อเพลิงและสาธารณูปโภค รวมทั้งการต่อยอดธุรกิจหลักด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานเพิ่มกำลังผลิตใหม่อีก 1,000 เมกะวัตต์ ในปีนี้ ซึ่งจะใช้งบประมาณ 22,000 ล้านบาท โดยจะมีการหาโอกาสการลงทุนทั่วโลก โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาหลายรายในหลายประเทศ เพื่อให้มีโครงการใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มในพอร์ตฟอลิโอ           ทั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลให้บริษัทมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผลประกอบการในปี 2565...

คณะรัฐมนตรี (ครม.) คลอดแพคเกจรถอีวีตามคาด จัดเงินอุดหนุนรถยนต์และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาทต่อคัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาทต่อคัน พร้อมลดภาษีสรรพสามิต นอกจากนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผ่านราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ลดลงโดยตรง โดยลดภาษีน้ำมันดีเซลลง ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลปรับลดประมาณ 3 บาทต่อลิตร           วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งที่ 7/2565 ซึ่งมีการพิจารณาแพคเกจยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) เพื่อกระตุ้นการใช้รถอีวีในไทย 3 ประเภท ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถกระบะ มาตรการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ปี 2565-2568 ส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า 3 กลุ่ม คือ 1. เงินอุดหนุนรถยนต์และรถกระบะคันละ 70,000-150,000...

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา นายประพันธ์ ศรีนวล รองผู้ว่าการวิศวกรรม และคณะผู้บริหารจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับนายภิเษก สบายใจ รองกรรมการผู้จัดการ และทีมงานจากบริษัท อาร์ เอส เอส 2016 จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามในสัญญางานจ้างเหมาก่อสร้างเคเบิลใต้ดิน 115 เควี สถานีไฟฟ้าหาดใหญ่ 4 - สถานีไฟฟ้าหาดใหญ่ 5 จังหวัดสงขลา และงานปรับปรุงระบบจำหน่ายเคเบิลใต้ดิน ถนนศรีภูวนารถ ช่วงที่ 1 จังหวัดสงขลา ตามโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมืองใหญ่ ระยะที่ 1...

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ปี2565 กระทรวงพลังงานได้มุ่งมั่นกำหนดทิศทางแผนการดำเนินงานภายใต้มิติ “Collaboration for Change: C4C ก้าวสู่ยุคพลังงานสะอาด จับมือพันธมิตรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” โดยจะมุ่งเน้นการปรับบทบาทองค์กรเพื่อก้าวสู่ยุค Energy Transition ปลดล็อค กฎระเบียบ และจับมือทุกภาคส่วน             ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่สำคัญ 3 ด้าน คือ  1. ด้านพลังงานสร้างความมั่นคงสู่เป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ อาทิ การจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ ที่คำนึงถึงพลังงานสะอาดและการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น การขับเคลื่อน Grid Modernization สมาร์ทกริด ปลดล็อคกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้าสะอาด และบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ  2. ด้านพลังงานเสริมสร้างเศรษฐกิจ อาทิ ขับเคลื่อนการลงทุนโครงการประกอบกิจการปิโตรเลียม ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้ให้ประเทศมูลค่ากว่า 44,300 ล้านบาท กำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันและสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในระดับที่เหมาะสม ส่งเสริมการลงทุนปิโตรเคมี ระยะ 4 ใน EEC              โดยได้กำหนดทิศทางการขยายการลงทุนปิโตรเคมีกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด เพื่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในปี 2565-2569 กว่า 2-3 แสนล้านบาท ส่งเสริมลงทุนต่อเนื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานมูลค่ากว่า 143,000 ล้านบาท  ส่งเสริมการลงทุน EV Charging Station และยานยนต์ไฟฟ้า และเร่งพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับการขยายตัวของการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต โดยอีก 9 ปีจะต้องผลิตอีวีเป็น 30% เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียนด้วย รวมถึงอีโคซิสเต็มของระบบสถานีประจุไฟฟ้าจะต้องเพิ่มเติมและต้องทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยสนับสนุนให้สถานีชาร์จไฟฟ้าทั้งในบ้านและนอกบ้าน  นอกจากนี้ จะเร่งขยายผลการลงทุนพลังงานสะอาดทุกรูปแบบส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนผ่านกองทุนอนุรักษ์ฯ ปี 2565 วงเงินกว่า 1,800 ล้านบาท ทั้งนี้ ปี2564 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน...

โดย คุณเกษมสันต์ เครือธร ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายระบบอัตโนมัติงานอุตสาหกรรมภูมิภาค บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)         การบริหารจัดการพลังงานที่ดีขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดี ๆ ที่สามารถช่วยบริษัทผู้ผลิตลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์กรได้ ในแต่ละวัน โรงงานผู้ผลิตในประเทศไทยใช้พลังงานไฟฟ้าในปริมาณมหาศาล ส่งผลให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้สามารถถหลีกเลี่ยงได้ด้วยระบบการจัดการพลังงานง่าย ๆ         จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานในประเทศไทย พบว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ภาคอุตสาหกรรมเพียงกลุ่มเดียวมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 64,657 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง หรือคิดเป็นประมาณ 45% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศ  ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองแก่บริษัท และไม่ทำให้เกิดความยั่งยืน         ค่าสาธารณูปโภคที่พุ่งสูงจากระบบโรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและล้าสมัย ทำให้บริษัทต้องเสียเงินโดยไม่จำเป็นและส่งผลเสียต่อการเติบโตของธุรกิจ ผู้ผลิตที่ไม่ "เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" มีสิทธิ์ที่จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลังในตลาดอุตสาหกรรมระดับโลกในปัจจุบันซึ่งต้องการการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม  และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance : ESG) (ESG)...

เมื่อวันที่ 22 – 26 มกราคม 2565 ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG พร้อมคณะผู้บริหารและพนักงาน เข้าตรวจเยี่ยมโครงการโซลาร์ฟาร์มประจำปี 2565           โดย ดร.วันดี กล่าวว่า ปัจจุบัน SPCG มีโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยทั้งสิ้น 36 โครงการ กระจายอยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, ขอนแก่น, สกลนคร, หนองคาย, อุดรธานี, นครพนม, เลย, สุรินทร์, บุรีรัมย์ และลพบุรี รวมเนื้อที่ดินกว่า 5,000 ไร่ รวมกำลังการผลิตกว่า...

กระทรวงพลังงานประกาศแผนด้านพลังงานปี 2565 ภายใต้มิติ “Collaboration for Change: C4C ก้าวสู่ยุคพลังงานสะอาด จับมือพันธมิตรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” เน้นการพัฒนาด้านพลังงานใน 3 ด้าน มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เสริมสร้างเศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อรองรับยุค Energy Transition ปลดล็อคกฎระเบียบ และจับมือทุกภาคส่วนขับเคลื่อนด้านพลังงานไปด้วยกัน           นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในปี 2565 กระทรวงพลังงานกำหนดทิศทางแผนการดำเนินงานภายใต้มิติ “Collaboration for Change: C4C ก้าวสู่ยุคพลังงานสะอาด จับมือพันธมิตรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” โดยจะมุ่งเน้นการปรับบทบาทองค์กรเพื่อก้าวสู่ยุค Energy Transition ปลดล็อค กฎระเบียบ และจับมือทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่สำคัญ 3 ด้าน คือ           1) ด้านพลังงานสร้างความมั่นคงสู่เป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ อาทิ การจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติที่คำนึงถึงพลังงานสะอาดและการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเช่น การขับเคลื่อน Grid...