Author: webmaster

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส และ Eviation ร่วมมือเพื่อนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการบินเครื่องบินขนส่งสินค้าที่ปลอดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 12 ลำ จะสร้างเครือข่ายการขนส่งด่วนด้วยเครื่องบินไฟฟ้าให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกเครื่องบินไฟฟ้า "Alice" จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์เที่ยวบินแรกของ Alice จะเริ่มขึ้นภายในปีนี้ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ผู้นำด้านการขนส่งด่วนระหว่างประเทศ และ Eviation ผู้ผลิตเครื่องบินไฟฟ้าระดับโลกซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองซีแอตเติล ได้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับอุตสาหกรรมการบินด้วยการประกาศว่าดีเอชแอลจะเป็นลูกค้ารายแรกที่สั่งซื้อเครื่องบินไฟฟ้า Alice จำนวน 12 ลำ จาก Eviation ในการร่วมมือกันครั้งนี้ ดีเอชแอลตั้งเป้าจะเป็นผู้นำในการสร้างเครือข่ายการขนส่งด่วนด้วยเครื่องบินไฟฟ้าและบุกเบิกการบินอย่างยั่งยืน เครื่องบิน Alice ของ Eviation เป็นเครื่องบินที่ใช้ไฟฟ้าทั้งลำระดับแนวหน้าของโลก ซึ่งจะช่วยให้สายการบินขนส่งสินค้าและผู้โดยสารสามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก...

ผู้ถือหุ้น EP อนุมัติเป็นเอกฉันท์ส่งบริษัทย่อย E-COGEN ซื้อหุ้น SSUT ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมและไอน้ำร่วมกันในระบบ Cogeneration กำลังผลิตไฟฟ้า 240 MW และไอน้ำ 60 ตัน จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม เพิ่มอีก 40% โดยใช้เงินลงทุน 2.10 พันล้านบาท ดันสัดส่วนการเพิ่มเป็น 80.96% ฟาก "ยุทธ ชินสุภัคกุล" เผยมีอำนาจควบคุมการบริหารจัดการเบ็ดเสร็จ ระบุสามารถรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นทันที หนุนกำไรโตก้าวกระโดด             นายยุทธ ชินสุภัคกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (EP) เปิดเผยว่า ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2564 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2564...

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมออกระเบียบบังคับโรงไฟฟ้าใหม่ที่ไม่อยู่ในข่ายทำ EIA หรือ EHIA ต้องจัดเวทีรับฟังความเห็นประชาชนตามมาตรฐานใหม่ คาดประเดิมโรงไฟฟ้าชุมชนฯ เป็นกลุ่มแรก รวมถึงโรงไฟฟ้าขยายผลและโรงไฟฟ้าขยะที่รัฐจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าในอนาคต             นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เปิดรับฟังความเห็น “ระเบียบ กกพ.ว่าด้วยเรื่องการรับฟังความเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า พ.ศ….” ระหว่างวันที่ 24 ก.ค.-7 ส.ค.2564 นี้ ทางเว็บไซต์ กกพ. โดยระเบียบดังกล่าวจะเริ่มใช้กับโรงไฟฟ้าใหม่ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) ที่ปัจจุบันอยู่ในกระบวนการประมูล รวมถึงโครงการโรงไฟฟ้าขยะ 400 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าขยายผล 140 เมกะวัตต์ ที่กระทรวงพลังงานเตรียมจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าในเร็วๆนี้ด้วย             สำหรับร่างระเบียบดังกล่าวจะมีผลใช้กับทั้งโรงไฟฟ้าประเภทเผาไหม้เชื้อเพลิง ได้แก่ โรงไฟฟ้าชีวมวล,โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ,โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ,โรงไฟฟ้าขยะมูลฝอยและโรงไฟฟ้าถ่านหิน นอกจากนี้ยังใช้กับโรงไฟฟ้าไม่เผาไหม้เชื้อเพลิง ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์,โรงไฟฟ้าพลังงานลม,โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ โดยผู้ผลิตไฟฟ้าต้องจัดเวทีรับฟังความเห็นประชาชน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รัศมีต่อไปนี้ 1....

นายวีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เพื่อนำบริษัท ชัยวัฒนา กรีน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ CWT เตรียมความพร้อมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในปี 65 ตามแผน เพื่อขยายธุรกิจพลังงานทั้งนี้ บริษัท ชัยวัฒนา กรีน จำกัด ได้วางเป้าหมายภายในปี 65 จะมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ในมือไม่น้อยกว่า 30 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าที่ขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 2 โครงการ กำลังการผลิตรวม 14 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์...

อาวดี้ เผยโฉม อาร์เอส คิว อี-ทรอน ใหม่ ซึ่งถูกพัฒนาสำหรับลงแข่งแรลลี่โดยเฉพาะ ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า (MGU) ที่ยกมาจากรถแข่งฟอร์มูล่าอี อาวดี้ อี-ทรอน เอฟอี07 เข้ากับชุดเพลาขับทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยอาวดี้ระบุว่ามอเตอร์ไฟฟ้าดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพื่อให้เหมาะสมกับรายการแข่งขันดาการ์แรลลี่  นอกจากนี้ อาวดี้ อาร์เอส คิว อี-ทรอน ยังถูกติดตั้งเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ TFSI ความจุ 2.0 ลิตรพ่วงด้วยเทอร์โบชาร์จ ซึ่งมีหน้าที่ชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่แรงดันสูงโดยเฉพาะ โดยเครื่องยนต์จะทำงานด้วยความเร็วรอบระหว่าง 4,500 - 6,000 รอบต่อนาที ซึ่งถูกระบุว่าเป็นช่วงรอบเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการแข่งขัน อาวดี้ อาร์เอส คิว อี-ทรอน ยังมีมอเตอร์อีก 1 ตัว สำหรับชาร์จพลังงานไฟฟ้ากลับไปยังแบตเตอรี่แรงดันสูงที่มีความจุประมาณ 50 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งมอเตอร์ที่ว่านี้สามารถสร้างกระแสไฟในขณะเบรกได้ โดยอาวดี้ระบุว่าแบตเตอรี่ของ...

            ในที่ 19 กรกฎาคม 2564 และวันที่ 22 กรกฎาคม 2564  บริษัท อาร์ เอส เอส 2016 จำกัด โดยนายไพโรจน์ ศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นายธีรศักดิ์ ศิริโสภณา กรรมการผู้จัดการ ได้ส่งตัวแทนบริษัทฯ ร่วมสนับสนุนเงินบริจาคมูลค่ากว่า 50,000 บาท สำหรับเป็นอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ประเภทหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และชุดป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อมอบให้กับข้าราชการตำรวจ ครอบครัว และประชาชนในชุมชนละแวกใกล้เคียง บก.น. 6 โดยมี รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6  พ.ต.อ. วุฒิชัย ไทยวัฒน์...

บริษัท อาร์ เอส เอส 2016 จำกัด โดยนายไพโรจน์ ศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นายธีรศักดิ์ ศิริโสภณา กรรมการผู้จัดการ ได้ส่งตัวแทนบริษัทฯ ร่วมสนับสนุนเงินบริจาคมูลค่ากว่า 80,000 บาท สำหรับอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ประเภทชุดป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่และชุมชนละแวกใกล้เคียง ดังนี้             เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 มอบหมายให้ นางสาวนภัสนันท์ พิพัฒนธนพงศา ผู้ช่วยเลขานุการด้านสื่อสารองค์กร ร่วมมอบอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ประเภทชุดป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 200 ชุด โดยมีนายจุมม์โชค เพิ่มสีหเจริญ ตำแหน่งนายช่างโยธาชำนาญงานองค์การบริหารส่วนตำบลบางโพธิ์เหนือเป็นตัวแทนในการรับมอบ ต่อมาวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 มอบหมายให้...

บ้านปู เดินหน้าลุยธุรกิจผลิตไฟฟ้าในญี่ปุ่น เปิดตัวโรงไฟฟ้านาโกโซ IGCC ร่วมพาร์ทเนอร์มิตซูบิชิ งบ 2,500 ล้าน พลังงานรูปแบบใหม่ มั่นใจรับรู้รายได้ไตรมาส 2 ทันที พร้อมเดินหน้าเจรจาลงทุนสหรัฐ จีน เวียดนาม ต่อเนื่อง วันที่ 29 เมษายน 2564 นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP เปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการลงทุนในโรงไฟฟ้านาโกโซ (Nakoso IGCC) ณ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) แห่งใหม่ล่าสุดเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564...

เป้าหมายของไทยที่จะลดการปล่อย 'ก๊าซเรือนกระจก' ให้ได้ 20-25% หรือ 111-139 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573 การส่งเสริมให้ใช้ 'พลังงานทดแทน' เช่น การส่งเสริมให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 'โซลาร์เซลล์' เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสำคัญต่อ พลังงานสะอาด และมีความมุ่งมั่นในการลดการปล่อย'ก๊าซเรือนกระจก' ตามความตกลงปารีส หรือ COP 21 ที่มีเป้าหมายรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ 'พลังงานทดแทน' 'พลังงานหมุนเวียน' ได้รับความสนใจในหลายประเทศ สำหรับของประเทศไทย ตาม NDC (Nationally Determined Contribution) ที่เสนอไปนั้น กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อย 'ก๊าซเรือนกระจก' ให้ได้ร้อยละ 20-25 หรือจำนวน 111-139 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573 ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจและด้านพลังงานให้ตอบโจทย์ทิศทางของโลกและข้อตกลงดังกล่าวอย่างชัดเจน ทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านโมเดล BCG ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 ด้าน...

“ขยะ” ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สร้างมลพิษระยะยาว แค่เพียง “กำจัด” ให้พ้นไปไม่เพียงพอ แต่ถ้า “จัดการ” ให้ดี ขยะก็สามารถเพิ่มมูลค่าได้ ยิ่งโดยเฉพาะของเสียจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ใครจะเชื่อว่า “ชานอ้อย” ของเสียจากโรงงานหนึ่ง สามารถกลายเป็นแหล่งผลิตพลังงานบริสุทธิ์อย่างไฟฟ้า บริษัท ร่วมกำลาภพาวเวอร์ จำกัด ได้จัดทำโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อรับซื้อชานอ้อยที่เหลือมาจากโรงงานผลิตน้ำตาลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งการลงทุนครั้งนี้ จำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาลเพื่อจัดตั้งโรงงาน และเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระหว่างการผลิตพลังงานนั้นไม่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมอีกต่อหนึ่ง คุณณิชา อัษฎาธร ผู้บริหารร่วมกำลาภพาวเวอร์ กล่าวว่า “จากอ้อยปีละ 10 ล้านตัน เมื่อผลิตน้ำตาลแล้วทำให้เกิดชานอ้อยจำนวนมาก จึงทำให้เกิดโรงงานผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อย แน่นอนว่ากระบวนการผลิตไฟฟ้า ต้องเกิดเผาไหม้เกิดขึ้น เราต้องการลดปริมาณการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้” ธนาคารกรุงไทยได้ร่วมให้การสนับสนุนเงินลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้บริษัทผลิตไฟฟ้ากล่องดักจับเขม่าควันที่มีประสิทธิภาพในการลดมลพิษในอากาศ จนทำให้ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้...